วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556


มนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน การจารึกเป็นร่องรอยให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียนให้ผู้อ่านตีความ เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่มและตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกจึงเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ


 ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส นำวิธีการจัดวางตัวอักษรและภาพเป็นคอลัมภ์  ใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลัง  ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การออกแบบกราฟิกได้พัฒนาและขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น ได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ การถ่ายภาพ  ปัจจุบันเป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ 
บทบาทเเละความสำคัญของกราฟิก

           ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีวิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็ว การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัด ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ  ประสิทธิภาพและประสิทธิผล  

 ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น มีดังนี้          
                 1.)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ :  การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว 
                  2.)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี :  เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบ ทุกประเภท
 ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น มีดังนี้          
                 1.)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ :  การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว 

                  2.)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี :  เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบ ทุกประเภท
ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก
กราฟิก มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ
1. Graphikos  หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ
2. Graphein  หมายถึง การเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น
รวม Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันจะหมายถึงสิ่งที่แสดงความจริง แสดง                      
ความคิดอย่างชัดเจน ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า กราฟิก ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้

กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ ภาพถ่าย รูปวาด  ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

ประเภทของภาพกราฟิก
ประเภทของภาพกราฟิก มี 2 ประเภท คือ
      1.)       ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่เราพบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย  รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์ เช่น การ์ตูนเรื่อง ชินจัง โดราเอมอน เป็นต้น
      2.)        ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ โดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds max ,โปรแกรม Maya เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ภาพมีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานด้านสถาปัตย์และการออกแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนหรือโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น  การ์ตูนเรื่อง Nemo The Bug และการ์ตูนปังปอนด์แอนิเมชัน เป็นต้น



หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก

กราฟิกแบบ Raster
การทำงานของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmat เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งจุดเล็กๆ นี้ เรียกว่า  พิกเซล ในการสร้างแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกซลให้กับภาพ ถ้าจำนวนพิกเซลน้อย ภาพจะไม่คมชัด ถ้าจำนวนพิกเซลมาก ภาพจะคมชัด จึงควรกำหนดพิกเซลให้เหมาะสมกับงาน


             
กราฟิกแบบ Vector
                 กราฟิกแบบ Vector หรือ Object-Oriented Graphics หรือเรียกว่ารูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่อ้างอิงตามหลักทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งมีทิศทาง การลากเส้นไปในแนวต่างๆ จึงเรียกประเภท Vector Graphic หรือ Object Oriented               

ส่วนใหญ่ไฟล์รูปภาพประเภทนี้ คือ พวกที่มีนามสกุลเป็น .EPS , .WMF, .CDR, .AI , .CGM, .DRW, .PLT  และโปรแกรมที่ใช้สร้างคือ โปรแกรมประเภทวาดรูป
                                
สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิกมีดังนี้
           1.) RGB : เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีได้มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ



            2.CMYKประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า , สีม่วงแดง , สีเหลือง และสีดำ เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลด
                                 
                                

            3.) HSB:  เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
-> Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา
-> Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
-> Brightness คือ ระดับความสว่างขอสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100

     

             4.)  LAB: เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
   -> A  เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
   -> B  เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

                                        
  
ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
                            ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
         1.)   ภาพราสเตอร์ (Raster ) : หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่า “ พิกเซล (pixels) ”   
        ตัวอย่าง
                               -  ภาพใช้งานทั่ว ๆไป  ให้กำหนดพิกเซล  ประมาณ 100-150 Pixel
                               -  ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์  ให้กำหนดพิกเซล  ประมาณ 72  Pixel
                               -  ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่
                                   จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
                        ข้อดีของภาพชนิด Raster
                              -  สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
                             -  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม
       นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster
                 
นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro , Illustrator
.TIFF , TIF
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม PaintShopPro , Illustrator

        2.)     ภาพแบบ Vector :  เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ
ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
ข้อดีของภาพแบบ Vector
          -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ
              เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน
                       โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
          -  โปรแกรม  Illustrator
          -  CorelDraw
          -  AutoCAD
          -  3Ds max  ฯลฯ
       
นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector

นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.AI,.EPS
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก้ เป็นต้น
โปรแกรม  Illustrator
.WMF
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม CorelDraw